การติดตั้ง Arduino IDE และทดสอบการทำงานเบื้องต้นของ NodeMCU/ESP8266
บอร์ด NodeMCU ESP8266 (ESP-12E)
เนื้อหาเชิงทฤษฎี
ในการสื่อเรียนรู้นี้ เราเลือกใช้โปรแกรม Sketch ของ Arduino (Arduino IDE) ในการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของบอร์ด NodeMCU/ESP8266 (ซึ่งในบางครั้ง อาจเรียกบอร์ดลักษณะนี้ว่า WiFi controller) เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย เขียนด้วยภาษา C และความที่เป็น Open Source ทำให้ใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้รับความนิยมสูง จึงทำให้มีแหล่งข้อมูลให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในเว็บบอร์ดหรือเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตอีกมากมาย และในส่วนของบอร์ด NodeMCU/ESP8266 เองนั้น เป็นบอร์ดไมโครคอนโทลเลอร์ที่มีจำนวนขาพอร์ตอินพุตและเอาต์พุตมากพอสำหรับการนำไปใช้งานจริง สามารถต่อกับเซ็นเซอร์ได้ทั้งแบบดิจิตอลและแอนะล็อก และยังต่อเพื่อขับอุปกรณ์เอาต์พุตให้ทำงาน โดยที่เราจะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้บอร์ด NodeMCU/ESP8266 สามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ควบคุมการเปิดปิดหลอดไฟ, ปลั๊กไฟฟ้า หรือเครื่องรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น และเนื่องจากมีโมดูล WiFi ในตัว จึงสามารถเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลหรือสั่งงานผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องหาซื้ออุปกรณ์มาต่อเพิ่ม นอกจากนั้นยังมีราคาถูก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนลงเป็นอย่างมากหากต้องการนำบอร์ดไปใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) โดยในการทดลองนี้เป็นการเริ่มต้นติดตั้ง Arduino IDE และทดสอบ NodeMCU/ESP8266 เบื้องต้นว่าสามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.ดาวน์โหลด Arduino IDE โดยไปที่ https://www.arduino.cc และไปที่ click ที่ Download
2.เลือกระบบปฎิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม Arduino
3.กด JUST DOWNLOAD (หากต้องการร่วมบริจาคช่วยการพัฒนา Arduino Software สามารถกด CONTRIBUTE & DOWNLOAD)
4.บันทึกไฟล์ติดตั้งโปรแกรมไปยังโฟลเดอร์ที่ต้องการ
5.Unzip ไฟล์ติดตั้ง
6.ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ arduino.exe
7.หน้าต่างโปรแกรม Arduino จะปรากฏขึ้นดังรูป
8.สร้าง Shortcut บน Desktop เพื่อความสะดวกในการเปิดโปรแกรมในครั้งต่อๆไป
9.จะปรากฏไอคอนของโปรแกรม Arduino บน Desktop ดังแสดงในรูป
10.ในหน้าต่างโปรแกรม Arduino IDE คลิกไปที่เมนู File -> Preferences เพื่อติดตั้งบอร์ด NodeMCU/ESP8266 แบบออนไลน์
11.เพิ่ม http://arduino.esp8266.com/stable/package_esp8266com_index.json ลงในช่อง Additional Boards Manager URLs ดังภาพ
12.คลิกไปที่เมนู Tools -> Board -> Board Manager
13.พิมพ์คำว่า ESP8266 ลงในช่อง และเริ่มต้นติดตั้งดังภาพ
14.เสียบบอร์ด NodeMCU/ESP8266 เข้ากับคอมพิวเตอร์ จากนั้นไปที่ Device Manager (หากเป็น Window ให้คลิกขวาที่ไอคอน บน Toolbars) เพื่อตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ตรวจพบ NodeMCU/ESP8266 หรือไม่
15.ใน Device Manager คลิกที่ Ports หากปรากฏดังภาพ หมายความว่า NodeMCU/ESP8266 ติดต่อและพร้อมใช้งานกับคอมพิวเตอร์แล้ว
16.แต่ถ้าหากไม่พบบอร์ดใน Ports ให้ไปดาวน์โหลด Driver มาติดตั้งด้วยตนเองจาก https://www.silabs.com/products/mcu/Pages/USBtoUARTBridgeVCPDrivers.aspx
17.เปิด Arduino ide ขึ้นมาอีกครั้ง และไปที่เมนู Tools เพื่อตั้งให้บอร์ดและหมายเลขพอร์ตตรงกับที่พบในขั้นตอนที่ 15 ซึ่งจากตัวอย่างในภาพคือพอร์ต COM8
18.ทดสอบด้วยการเขียนโค้ดให้หลอดไฟ LED บนบอร์ดกระพริบ โดยท่านสามารถคัดลอกโค้ดทั้งหมดข้างล่างไปวางทับลงในหน้าโปรแกรม
#define D0 16
#define LED D0
void setup()
{
pinMode(LED,OUTPUT);
}
void loop()
{
digitalWrite(LED,HIGH);
delay(250);
digitalWrite(LED,LOW);
delay(250);
}
19.คอมไพล์ (Compile) โดยคลิกที่ปุ่ม เพื่อตรวจสอบว่าโค้ดที่เขียนไม่มีข้อผิดพลาด
20.หากไม่มีข้อผิดพลาด จะปรากฎข้อความว่า “Done compiling” ดังภาพ
22.หากไม่มีข้อผิดพลาด จะขึ้นคำว่า “Done uploading” ดังภาพ และไฟบนบอร์ดจะกระพริบทุกๆ 250 ms (2 ครั้งต่อวินาที)
สรุปผล
ในการทดลองนี้เราทำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเขียนโปรแกรมควบคุมบอร์ด NodeMCU/ESP8266 และทำการเขียนโปรแกรมให้หลอดไฟกระพริบ เพื่อตรวจสอบดูว่าบอร์ดพร้อมใช้งานรับคำสั่งจากโปรแกรมของเราหรือไม่
0 ความคิดเห็น