สัญลักษณ์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 1
แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 2
แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3
แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 4
ตัวอย่างวงจรอิเล็กทรอนิกส์
การเขียนวงจร
โดยทั่วไปในการเขียนวงจรอิเล็กทรอนิกส์นั้น เท่าที่สังเกตจะมีการเขียน หลายรูปแบบคือ การเขียนแบบครบวงจรซึ่งแบบนี้เหมาะกับวงจรขนาดเล็ก ไม่ซับซ้อนเกินไป
( หรือ จะใช้กับวงจรที่ใหญ่ก็ได้)
รูปการเขียนวงจรทั่วไป การเขียนแบบย่อ โดยมากการเขียนแบบนี้จะแยกกันทำให้วงจรดูสบายตามากขึ้น
รูปการเขียนวงจรย่อ
จากรูปจะเห็นว่าจะตัดในส่วนของแหล่งจ่ายไฟออก และจะเขียนเพียง แรงดันที่เข้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆแทน การเขียนแบบใช้ตัวอุปกรณ์จริง ซึ่งการเขียนแบบนี้จะทำให้เขาใจง่ายขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีจำนวนขามาก
รูปการเขียนวงจรอุปกรณ์จริง
จากรูปจะเห็นว่า รูปทางด้านซ้ายมือคือวงจรทั่วไป ส่วนทางขวามือจะเปรียนรูปแบบการเขียน เพื่อให้ง่ายต่อการต่อวงจรมากยิ่งขึ้น การเขียนแบบลงบนโพโตบอร์ด การเขียนแบบนี้จะเน้นไปที่การต่อวงจรจริง ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าทำตามได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับวงจรมากนัก
รูปการเขียนวงจรโฟโต้บอร์ด
ในบทความต่อไปในส่วนของอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน จะเป็นเรื่อง แหล่งจ่ายไฟสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ปริมาณทางไฟฟ้า
1. กระแสไฟฟ้า เกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน มีหน่วยทางระบบ SI ว่าแอมแปร์ เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าคือแอมมิเตอร์ กระแสไฟฟ้ามี 2 ชนิดคือ
1. ไฟฟ้ากระแสตรง คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปทางเดียวกันตลอด เช่น ไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์ไฟฟ้าเคมีและแบตเตอรี
2. ไฟฟ้ากระแสสลับ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับไปกลับมาตลอดเวลา เช่น ไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือน
2. ความต่างศักย์ ระดับของปริมาณพลังงานไฟฟ้า จากจุด 2 จุด ซึ่งวัดได้ด้วย เครื่องมือที่เรียกว่า โวลต์มิเตอร์ มีหน่วยเป็น โวลต์
3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงสมบัติของลวดตัวนำที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า วัดได้ด้วยเครื่องมือเครื่องมือที่เรียกว่าโอห์มิเตอร์ มีหน่วยเป็น โอห์ม
4. ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้ามีมาก ความต่างศักย์ก็จะมากขึ้น และความต้านทานไฟฟ้าจะลดน้อยลง
ความสัมพันธ์ของปริมาณทางไฟฟ้า
ปริมาณทางไฟฟ้า เครื่องมือวัด หน่วย
กระแสไฟฟ้า(I) แอมมิเตอร์ แอมแปร์(A)
ความต่างศักย์ไฟฟ้า(V) โวลต์มิเตอร์ โวลต์(V)
ความต้านทานไฟฟ้า(R) โอห์มมิเตอร์ โอห์ม
หน่วยพื้นฐานทางไฟฟ้า คำอุปสรรคที่ใช้กับหน่วยทางไฟฟ้า
ปริมาณทางไฟฟ้า
|
หน่วย
|
สัญลักษณ์
|
ตัวคูณ
|
หน่วยคำเติมหน้า
|
สัญลักษณ์
|
กระแสไฟฟ้า
|
แอมแปร์
|
A
|
10ยกกำลัง12
|
เทระ(tera)
|
T
|
แรงดันไฟฟ้า
|
โวลต์
|
V
|
10ยกกำลัง9
|
จิกะ(giga)
|
G
|
ความต้านทานทางไฟฟ้า
|
โอห์ม
|
Ω
|
10ยกกำลัง6
|
เมกะ(maga)
|
M
|
กำลังไฟฟ้า
|
วัตต์
|
W
|
10ยกกำลัง3
|
กิโล(kilo)
|
K
|
ความจุไฟฟ้า
|
ฟารัด
|
F
|
10ยกกำลัง-3
|
มิลลิ(milli)
|
m
|
ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า
|
เฮนรี่
|
H
|
10ยกกำลัง-6
|
ไมโคร(micro)
|
µ
|
ความถี่
|
เฮิร์ต
|
Hz
|
10ยกกำลัง-9
|
นาโน(nano)
|
n
|
10ยกกำลัง-12
|
พิโค(pico)
|
p
|
0 ความคิดเห็น